top of page

กำหนดปัญหาอย่างไร ให้ตอบได้ตรงใจที่สุด

เมื่อการกำหนดปัญหาของงานวิจัย ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Cover Note_Research-03.png

การกำหนดปัญหางานวิจัย คืออะไร

 

การกำหนดปัญหางานวิจัย คือ การพิจารณาถึงปัญหาหรือหัวข้อที่เราสนใจต้องการจะศึกษา ว่าหัวข้อนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ต้องการทดสอบหรือหาคำตอบเรื่องอะไร เพื่อเป็นการระบุชื่อเรื่องงานวิจัยให้ชัดเจน และเข้าใจตรงกันว่าจะศึกษาเรื่องใด ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย เพราะผู้วิจัยต้องกำหนดปัญหาของงานวิจัย ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้า ซึ่งการกำหนดปัญหาของงานวิจัยควรมีการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ศึกษาลักษณะและความเป็นมา ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเนื้อหาลักษณะของความเป็นมาของเรื่องที่เป็นปัญหาในการวิจัย

  • ศึกษาโครงสร้างขององค์การที่กําหนดเป็นเรื่องการทําวิจัย บางครั้งจําเป็นต้อง ศึกษาโครงสร้างขององค์การที่ใช้กําหนดเป็นหัวเรื่องของการวิจัย ตัวอยาง เช่น การดําเนินงาน การบริหาร การเงิน เป็นต้น

  • ศึกษาเอกสารและกิจกรรมที่ เกี่ยวของกับหัวเรื่องที่วิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า หัวข้อวิจัยนั้นเป็นปัญหาที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้กอ่นหน้านี้รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่มีอยู่

  • ศึกษาและปรึกษากับผูที่มีความรูโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณในเรื่องที่จะศึกษาวิจัย

  • ศึกษากรอบและทฤษฎี ซึ่งจะทําใหผู้วิจัยสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่อง ปัญหา ข้อมูล ลักษณะของปัญหา
     

โดยทั่วไปแล้วปัญหาของการวิจัยควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. จะต้องเป็นปัญหาที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่กำกวม เข้าใจง่าย สามารถอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน

  2. ปัญหาที่กำหนดต้องไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป

  3. ควรเป็นปัญหาที่มีความหมาย ง่ายต่อการศึกษาวิจัย

  4. จะต้องเหมาะสมกับเวลา ค่าใช้จ่าย และความรู้ความสามารถของผู้วิจัย

 

เกณฑ์การประเมินปัญหาการวิจัย

การเลือกปัญหาการวิจัยจะเหมาะสมหรือไม่ ควรที่นักวิจัยจะได้ประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้นโดยอาศัยเกณฑ์ต่อไปนี้พิจารณา

 

1.ควรเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

1.1 มีความอยากรู้  อยากเห็นอยากทราบคำตอบโดยไม่มีอคติ

1.2 เป็นความสนใจที่เกิดจากแรงจูงใจภายนอกมากระตุ้น

1.3 เป็นปัญหาที่แสดงความคิดริเริ่มของผู้วิจัยเอง

 

2.ควรเป็นปัญหาที่มีคุณค่า ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้  

2.1 ก่อให้เกิดความรู้  ความจริงใหม่ๆ ไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น

2.2. ก่อใหเกิดสติปัญญาและพัฒนาความคิด

2.3 นำไปแก้ไขปรับปรุงงานที่ทำอยู่ได้

 

3.ควรคานึงถึงความสามารถของผู้วิจัยในประเด็นต่อไปนี้  

3.1 มีความรู้  ความสามารถพอที่จะทำงานวิจัยเรื่องนั้น

3.2 มีเวลา กำลังงาน และกำลังทรัพย์พอที่จะทำได้สำเร็จ

3.3 สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ

 

4.ควรคำนึงถึงสิ่งที่จะเอื้ออำนวยให้การวิจัยสำเร็จได้แก่

4.1 มีแหล่งวิชาการที่จะค้นคว้าได้สะดวกและเพียงพอ

4.2 มีอุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

4.3 ได้รับความสนับสนุนและร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องด้วยดี

 

อ้างอิง

https://www.scribd.com/doc/23466202/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5-3-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2

 

http://e-book.ram.edu/e-book/t/TO405(51)/TO405-3.pdf

bottom of page