By The TSIS
สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาอยู่ในทุกย่างก้าวในชีวิตประจำของผู้คนจนไม่สามารถแยกออกจากกัน ความคิดเห็นบางส่วนอาจมองว่าโซเชียลมีเดียคือสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมแยกห่างออกจากกันมากขึ้น เพราะการกลายเป็นสังคมก้มหน้าทำให้คนเลือกที่จะคุยกันผ่านหน้าจอมากกว่าหันมาพูดคุยกันน้อยลง แต่การมีแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้ผู้คนทั้งใกล้และไกลสามารถติดต่อสื่อสาร ญาติหรือคนรู้จักตอนเด็ก ๆ มีโอกาสกลับมาเจอกันอีกครั้ง
ความน่าสนใจของสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้วันนี้เรามีหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับสื่อสังคมออกไลน์จาก Paperell มาฝาก
1. เครือข่ายสังคมออนไลน์ทำให้เราโดดเดี่ยวและกลายเป็นคนไม่ชอบเข้าสังคม ?
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Vriije และมหาวิทยาลัย Radboud ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำการสำรวจรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์พบว่า คนที่ใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์ในทุก ๆ วันจะมีความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวมากกว่าคนที่ใช้เวลาเล่นสื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่า นอกจากนั้นยังรบกวนเวลาพักผ่อน
Erik Peper รองศาสตราจารย์ด้านสุขศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก ระบุว่า การเสพติดสมาร์โฟนเป็นอาการทางระบบประสาทที่คล้ายคลึงกับผู้ที่ติดยาเสพติด ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน พบว่า คนที่ใช้เวลาจำนวนมากกับสมาร์โฟนมีแนวโน้นที่จะแสดงความรู้สึกวิตกกังวล เศร้าใจ และรู้สึกโดดเดี่ยว
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.psychologytoday.com/us/blog/modern-mentality/201810/is-social-media-making-you-lonely
2. วิธีปกป้องเด็กจากโลกออนไลน์ ?
จำนวนเด็ก 1 ใน 5 คนที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เคยถูกร้องขอให้มีเพศสัมพันธ์ จำนวน 1 ใน 4 คน เห็นภาพอนาจารจากคนแปลกหน้า และเกือบ 60% ของวัยรุ่นเคยได้รับรับอีเมลหรือข้อความจากคนแปลกหน้า
สื่อสังคมออนไลน์เป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้คนสามารถติดต่อเพื่อนและครอบครัว ในทางกลับกันสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นสถานที่ที่น่ากลัวสำหรับเด็กผ่านการ Cyberbullying (ไซเบอร์บูลลิ่ง) โดยใช้เครื่องมือสื่อสารในการกลั่นแกล้ง เช่น การขู่ทำร้ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย, การพูดจาคุกคามทางเพศ, การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้อาจทำลายเด็กไปตลอดชีวิต
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://pixelprivacy.com/resources/keep-children-safe-online/
3. วิธีการในการระบุตัวคนที่มีลักษณะการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กในโลกออนไลน์
ในโลกออนไลน์ที่ทุกคนต่างโพสต์ภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันเรื่องราว หรือเก็บไว้เป็นความทรงจำ ได้มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่เรียกว่าคนที่มีลักษณะล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก (Pedophiles)
รายงานจาก The Atlantic ระบุว่ามีเด็กวัยรุ่นแจ้งเข้ามาว่าไปเจอบัญชีอินสตาแกรมที่มีการโพสต์ภาพถ่ายอนาจารนับร้อยของเด็ก พร้อมกับแปะลิงก์ให้ดาวน์โหลดภาพถ่ายจาก Dropbox แต่ด้วยความที่อินสตาแกรมมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และผู้ที่ทำพฤติกรรมเหล่านี้เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญทำให้ไม่สามารถตามจับบุคคลที่มีความผิดได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.thv11.com/article/news/crime/pedophiles-are-exploiting-social-media-for-kids-photos/91-548275863
4. เหตุผลที่เราต้องโพสต์ลงบนโลกออนไลน์ ?
ลองสังเกตผู้คนรอบข้างคุณเวลาที่คุณกำลังทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างทานข้าว ดูคอนเสิร์ต หรืออะไรก็ตาม จะต้องมีคนกำลังใช้มือสองข้างยกโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อบันทึกสิ่งที่น่าตื่นเต้นลงบนโซเชียลมีเดีย
Facebook Instagram Twitter หรือ Snapchat กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา หลังจากที่คุณโพสต์บางอย่างลงบนสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากนั้นคุณจะต้องเข้าไปตรวจสอบความเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
เควิน ซิสตรอม หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอินสตาแกรมกล่าวว่า “สื่อสังคมออนไลน์สำหรับตัวเขาเองเหมือนเป็นควันและกระจกที่คอยบอกว่า ทำไมคุณถึงสำคัญและมีความเชื่อมโยงกัน”
นักจิตวิทยาสองท่านคือ Wilcox และ Stephen ทำการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ทั้งในด้านการให้คุณค่า และการควบคุมตนเองพบว่า เฟซบุ๊กทำให้ผู้คนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า การโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความมั่นใจ และเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง หรือคือการพยายามทำให้สังคมยอมรับเรา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.theodysseyonline.com/the-urge-share-why-post-social-media
5. วิธีหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying)
พญ.เบญจพร ตันตสูติ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า เด็กทุกคนอาจจะเคยประสบการรังแกกลั่นแกล้งกันในโรงเรียน ซึ่งเป็นการแกล้งกันต่อหน้า เมื่อถึงยุคที่มีอินเทอร์เน็ต การกลั่นแกล้งได้ไปเกิดในโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ นั่นคือ Cyberbullying ซึ่งความรุนแรงตรงนี้สามารถไปได้ทุกที่ แม้กระทั่งในที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน (เบญจพร ตันตสูติ, 2560)
Cyberbullying ได้กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในวงกว้าง เช่น ผลการเรียนตกต่ำ การให้คุณค่าต่อตนเองที่ลดลง ภาวะซึมเศร้าวิตกกังวล ท้ายที่สุดในบางกรณีอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง และฆ่าตัวตาย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.etda.or.th/content/cyberbullying-panel-discussion-at-thailand-cybersecurity-week-2017.html
6. LinkedIn สามารถช่วยให้คนหางาน ?
Katherine Burch เขียนบทความลงใน The Guardian ในเรื่องวิธีการใช้ LinkedIn ในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้คุณได้งานเมื่อสำเร็จการศึกษา
การพยายามทำให้ตนเองโดดเด่นขึ้นมาในหมู่คนที่เรียนจบเพื่อที่จะได้หางานอาจเป็นวิธีที่ยาก แต่การใช้ LinkIn ถือเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายของคุณขณะที่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และเป็นวิธีที่ดีในการหาประสบการณ์การทำงาน และโอกาสอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเรียน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.theguardian.com/education/mortarboard/2013/dec/30/linkedin-tips-for-students-employability
7. วิธีการหยุดพักจากโซเชียลมีเดีย (Social Media Break)
คุณเคยรู้สึกหรือไม่ว่าตัวเองใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไป จนในบางครั้งก็อยากที่จะโยนโทรศัพท์ทิ้งไป สำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้โซเชียลมีเดียในการทำงาน การหยุดพักจากโซเชียลมีเดียถือเป็นวิธีหนึ่งในการเอาชนะความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี
คนดังหลายคน อาทิ Ariana Grande, Selena Gomez, Gigi Hadid, Ed Sheeran ฯลฯ ต่างก็เคยพาตัวเองออกจากโซเชียลมีเดียเป็นบางครั้งเพื่อช่วยรักษาสุขภาพจิต และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.juicer.io/blog/how-to-take-a-stress-free-social-media-break
8. ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงหมกมุ่นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและยอดไลค์ ?
ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ.2019 หากใครจำกันได้ว่าเฟซบุ๊กได้มีการเริ่มทดสอบการซ่อนตัวเลขจำนวนยอดไลค์ (Like) ที่ประเทศออสเตรเลีย หลายคนอาจมองว่า ตัวเลขการกดไลค์เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า มีใครเข้ามาปฏิสัมพันธ์หรือให้ความสนใจเราในเฟซบุ๊กบ้าง
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาผลักดันให้เฟซบุ๊กหยุดให้ความสำคัญกับการนับจำนวนยอดผู้กดไลค์ เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อผู้ใช้งานที่ต่างพยายามหาวิธีการให้ตัวเองได้ยอดไลค์เยอะ ๆ จนกลายเป็นคนที่เสพติดการล่าไลค์โดยไม่รู้ตัว พอไม่ได้จำนวนที่สูงก็จะออกอาการเซ็งและหดหู่
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1719578
9. อะไรคือสิ่งที่จะมาแทนการเสพติดโซเชียลมีเดีย ?
สื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และทินเดอร์ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการสื่อสารในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ในกรณีสุดอื้อฉาวของ Cambridge Analytica ก็ได้แสดงให้เห็นด้านลบของโซเชียลมีเดีย
ในมุมมองด้านสุขภาพจิต เริ่มมีการพูดถึงผลกระทบด้านลบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มากเกินไปว่าส่งผลต่อความสัมพันธ์ และผลการเรียนของกลุ่มที่ยังอยู่ในวัยเรียน ในเวลาต่อมา ผลการศึกษาเริ่มแสดงให้เห็นว่า การเสพติดโซเชียลมีเดียทำให้คนวิตกกังวล ซึมเศร้า และสมาธิสั้น
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.psychologytoday.com/us/blog/in-excess/201805/addicted-social-media
10. ใครคือผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดบนสื่อสังคมออนไลน์ ?
การตลาดในยุคปัจจุบัน การใช้วิธีการโฆษณาแบบเดิม ๆ คงไม่เพียงพอที่จะเอาชนะความต้องการของผู้บริโภคในยุคที่คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่านักการตลาดจะพยายามใช้ช่องทางออนไลน์ในการส่งผ่านข้อมูลไปสู่ผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเริ่มก็หันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ได้จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ (influencers)เพราะต้องการความน่าเชื่อถือและความเชื่อใจก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือรับฟังข่าวสาร
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_13/pdf/aw07.pdf
Illustration by Piyanat Chasi
Unleash Your Inner Superhero, the Ultimate Spider-Woman Costume Guide. Imagine You’re perched high above the city, your keen senses attuned to the sounds of the night
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner