By Pongsamut Srisopar
ในช่วงเดือนที่ผ่านประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวทางสังคมหลายครั้ง เพื่อประท้วงการบริหารประเทศ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตามท่ามกลางภาวะวิกฤตอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้การต่อสู้ตามสิทธิ ขั้นพื้นที่ฐานที่ประชาชนพึงมีนั้นไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ ในบทความที่แล้วได้พูดถึงบทบาทของการระบาดไวรัสโควิด 19 ต่อการประท้วงในหลายประเทศว่าอาจไม่มีผลในการแพร่ระบาดแต่อย่างใด ในบทความนี้ผู้เขียนนำเสนอ ข้อจำกัด และวิธีการป้องกันตัวจากการพยายามควบคุมฝูงชนของหน่วยงานรัฐ
การพยายามควบคุม หรือการสลายการชุมนุม หรือในอีกคำหนึ่งที่มักได้ยินบ่อย ๆ คือ “การควบคุมฝูงชน” (Riot Control) ทุกครั้งที่ได้คำเหล่านี้ชวนคิดไม่ได้ถ้าเรายืนอยู่ตรงนั้นเราต้องพบกับอะไรบ้าง จากข้อมูลของตามแพลตฟอร์ม Social Network ต่าง ๆ อาทิ“ทวิตเตอร์” และ “เฟสบุ๊ค” ณ ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงการ ป้องกันตัวเอง การเอาตัวรอดจากอาวุธที่อาจจะพบได้ในสถานการณ์การสลายการชุมนุม น่าแปลกใจว่า ข้อมูลของหน่วยงานรัฐหลาย ๆ ที่ ยกตัวอย่าง ข้อมูลของเว็ปไซต์กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธร ภาค 2 1 ไม่ได้มีระบุว่าเจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ หรืออุปกรณ์อะไรบ้าง ทั้งชนิด ประเภท หรือ อื่น ๆ มีเพียงคำกล่าวตามหลักการที่ดูเหมือนจริงจังแต่ก็เลื่อนลอยและเข้าใจยาก
ผู้เขียน ในฐานะที่เป็นอดีตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาฟิสิกส์วัสดุศาสตร์มองเห็นความสำคัญของการทำความเข้าใจวิธีการป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุการสลายการชุมนุมขึ้น จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองเบื้องต้นหากเกิดการกลายการชุมชน โดยมุ่งไปในหัวข้อ “การเอาตัวรอดจากแก๊สน้ำตา” เริ่มต้นจากข้อควรรู้เกี่ยวกับแก๊สน้ำตา ดังนี้
แก๊สน้ำตา (Tear Gas)
“แก๊สน้ำตา” มีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ถ้าแปลตรงตัวคือ Tear Gas หรือบางครั้งจะใช้คำว่า lachrymator agent อ่านว่า “ลา-คี-เม-เตอร์-เอ-เจ้นท์” หรือ lachrymator ซึ่งในภาษาละตินคำว่า lacrima แปลว่า "tear" / “น้ำตา”
“แก๊สน้ำตา” เป็น “Chemical Weapon” หรือ “อาวุธเคมี” ซึ่งอาวุธในทีนี้หมายความว่าสามารถใช้ ทำร้ายหรือฆ่าเราตายได้
องค์ประกอบทางเคมีของแก๊สน้ำตา
องค์ประกอบทางเคมีของแก๊สน้ำตา นั่นจะทำให้ ผู้คน/เหยื่อ/ผู้ได้รับสารนั้น เกิดอาการระคายเคืองที่ บริเวณดวงตา ปาก คอ (ระบบทางเดินอาหาร) ปอด (ระบบทางเดินหายใจ) และผิวหนังได้
สารเคมีที่นำมา ใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตา มีมากกว่า 40 ชนิด (ทั้งที่ใช้และเลิก ใช้ไปแล้ว) และในบางพื้นที่ หรือบางประเทศมีการแอบผลิตเองอย่างผิดกฎหมายด้วย
สารตั้งต้นเพื่อใช้ผลิตแก๊สน้ำตาโดยส่วนมากปรากฏในสถานะของเหลว หรือบางครั้งผลึกของแข็งที่มีขนาดเล็กและละเอียดมาก ๆ สารตั้งต้นจะถูกผสมกับสารที่เร่งให้เกิดควันหรือไอ และบรรจุในอาวุธโดยรูปแบบของอาวุธก็มีหลากหลาย ทั้งยิงแบบกระสุน ระเบิดมือแบบเขวี้ยง แบบแผนกับดัก เป็นต้น
สารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตา
1- chloroacetophenone (CN)
2-chlorobenzalmalononitrile (CS)
Dibenzoxazepine (CR)
chloropicrin (PS)
bromobenzyl cyanide (CA)
pelargonic acid vallinylamide (PAV)
oleoresin capsicum (OC or ‘pepper spray’)
หมายเหตุ: แก๊สน้ำตาบางชนิดที่บรรจุลงอาวุธอาจผสมสารตั้งต้นมากกว่า 2 ชนิด และบางชนิดอาจจะผสมสารที่ทำให้เกิดควันมากขึ้น เพื่อสร้างความเสียหายให้กับเป้าหมาย
สารเคมีตั้งต้นดังกล่าวออกฤทธิ์แตกต่างกัน และความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารเคมีและวิธีการใช้
ข้อมูลจาก National Center for Environmental Health (NCEH) บอกว่า สารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตาที่นิยมใช้มาก มี 2 ชนิดคือ (1) 1- chloroacetophenone (CN) และ (2) 2-chlorobenzalmalononitrile (CS) ((NCEH), 2018)
การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา
การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตาไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ดวงตา/ต่อมน้ำตาเท่านั้น อวัยวะอื่น ๆ สามารถ ได้รับความเสียหาย/ได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน
อาการ/การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา หากสัมผัสกับแก๊สน้ำตาที่สามารถสังเกตได้ทันทีเมื่อได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงจะส่งผลให้
กรณีบริเวณดวงตา จะเกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล มองเห็นภาพไม่ชัด
กรณีระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการแสบร้อนจมูก หรือบางรายเกิดอาการบวม
กรณีบริเวณปากระบบย่อยอาหาร เกิดอาการแสบปาก แสบคอ กลืนลำบาก บางรายอาจเกิดอาการน้ำลายยืด แก๊สน้ำตาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน
บริเวณผิวหนัง อาจจะเกิดผื่น อาการแดงได้
กรณีที่ได้รับแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานหรือเยอะเกินไป (Long-lasting exposure or exposure to a large dose)
สามารถเกิดอาการตาบอดได้ หรือหากได้รับบ่อย ๆ เป็นเวลานานอาจเกิดต้อหินได้ ซึ่งนำไปสู่การตา บอดถาวร
บางรายสามารถตายทันทีได้ เนื่องจากรับสารเคมีเข้าไปหลายชนิด ทำให้ทางเดินหายใจ/ปอด ให้ได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนจากสารเคมี และสุดท้ายทางเดินหายใจล้มเหลว
การได้รับแก๊สน้ำตามีความเสี่ยงทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับโดยตรง หรืออยู่ในพื้นที่ปิดขณะที่มีการใช้แก๊สน้ำตา เช่น เกิดแผลเป็น เป็นต้อหิน ต้อกระจก จนไปถึงปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจ
วิธีการป้องกันตัวเอง /สิ่งที่ต้องทำหากตัวเองได้รับแก๊สน้ำตา
ทันทีที่ทราบว่าตนเองโดนแก๊สน้ำตาให้ตั้งสติและออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้ไวที่สุด
หาพื้นที่ที่มีอากาศโล่ง และอากาศบริสุทธิ์
กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยที่กลางแจ้ง ให้ออกจากพื้นที่นั้นทันทีและพยายามย้ายไปพื้นที่ต้นลม
พยายามขึ้นที่สูงเอาไว้เนื่องจาก แก๊สน้ำตาหนังกว่าอากาศมันจะลอยต่ำ ๆ
กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยในอาคาร/พื้นที่ปิด ให้รีบออกจากอาคารหรือพื้นที่นั้นทันที
หากมีความจำเป็นต้องชุมนุมต่อให้หาพื้นที่พัก / จุดนัดพบใหม่ที่ห่างออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการรับแก๊สน้ำตาอีกครั้ง
หากคุณมั่นใจว่าคุณได้สัมผัสกับแก๊สน้ำตามาให้คุณเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อาบน้ำล้างทั้งร่างกายก่อน แล้วไปพบแพทย์ทันที่เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่
การถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนกับแก๊สน้ำตานั้น เพื่อลดอาการระคายเคืองจากแก๊สน้ำตาซ้ำ กรณีเสื้อผ้าที่ต้องดึงผ่านศีรษะ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำว่าให้ตัดทิ้งดีกว่าเลือกที่จะถอดผ่านศีรษะ เพื่อลดการสัมผัสกับอนุภาคของแก๊สน้ำตา
หากจำเป็นต้องช่วยคนอื่นถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ทำให้แน่ใจว่าคุณจะได้สัมผัสกับเสื้อผ้าเหล่านั้นโดยตรงเนื่องจากคุณอาจจะได้รับบาดเจ็บไปด้วย
การชำระล้างร่างกาย ควรล้างร่างกายทันที่ ด้วยน้ำสะอาดและควรใช้สบู่ล้าง เพื่อให้สบู่ไปจับตัวกับสารเคมีที่ระคายเคืองต่อผิวแล้วหลุดไปเร็วขึ้น
หากบริเวณดวงตาได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงควรล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดาที่ สะอาด ประมาณ 10 – 15 นาที
หากสวมคอนเทคเลนส์ ให้ถอดทิ้งทันที
เครื่องประดับ อื่น ๆ เช่น นาฬิกา แว่นตา สร้อย ฯลฯ หากรับการสัมผัส จากแก๊สน้ำตาเช่นกัน ให้ถอดออกแล้วล้างให้สะอาดก่อนนำกลับมาใส่
ทุกอย่างที่ทิ้งให้ทิ้งรวมกับเสื้อผ้าและสิ่งของที่ปนเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสต่อ
อย่างไรก็ตามความรุนแรงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก แต่เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลือกมากไม่ได้นัก เมื่อท่านอยู่ในการชุมนุมที่เริ่มมีความรุนแรงและมีการใช้อาวุธ สิ่งแรกที่ควรทำคือมีสติ ประเมินสถานการณ์ และทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองปลอดภัยก่อน เมื่อมั่นใจว่าท่านปลอดภัยแล้วท่านจึงดูแลคนอื่นต่อไป และการเตรียม ตัวเองให้พร้อมไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาให้อ่านกันมาจากบทความใน Website ของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) โดยข้อมูลส่วนใหญ่ของบทความนี้มาจาก National Center for Environmental Health (NCEH) สามารถไปหาอ่านกันเต็ม ๆ ได้นะคะ ((NCEH), 2018) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ และความ เข้าใจในทางเดียวกัน และการปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือหากต้องรับมือกับอาวุธเคมีอย่างแก๊สน้ำตาหวังว่าบทความนี้จะช่วยได้ไม่มากก็น้อยค่ะ
จากเรื่องแรก ที่กล่าวไปว่ามีสารตั้งต้นที่นิยมใช้ในการผลิตแก๊สน้ำตา 2 ชนิดด้วยกัน ผู้เขียนเองก็อดคิดต่อไม่ได้ว่าทั้งที่มีสารตั้งต้นในการผลิตแก๊สน้ำตามมากมายที่ใช้กันในโลกนี้ แล้วในประเทศเรารัฐบาลเลือกใช้รุ่นไหน มีใครตอบได้ไหมคะ
จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาคที่ 2 ได้มีการกล่าวถึง การสลายการชุมนุม หรือ Riot Control ไว้ว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิในการชุมนุมประท้วงได้โดยสงบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็มีกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการทั้งในด้านความปลอดภัยของบุคคล”
“แต่อย่างไรก็ตามหากกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้ก่อให้เกิดความรุนแรง มีการทำร้ายบุคคล ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นจนเกิดการจลาจลและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการตามกฎหมายเข้ามาแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตโดยต้องใช้ความระมัดระวัง อดทน และปฏิบัติตามขั้นต่าง ๆ ในการควบคุมฝูงชนให้กลับสู่ในภาวะปกติโดยเร็ว”
“และหากดำเนินการตามขั้นตอนแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงขึ้นอย่างเป็นวงกว้าง อาจใช้กำลังในการเข้าสลายการชุมนุมเพื่อยึดพื้นที่คืนและให้การชุมนุมนั้นยุติลงแต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย”
นั่นแปลว่า หากมีการชุมนุมยังไงก็ต้องมี “เจ้าหน้าที่” ที่มาพร้อมอาวุธครบมือ มาเกี่ยวข้องค่ะ “ว้าวอุ่นใจไปเลยค่ะ” นอกจากนี้ทางข้อมูลของ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 2 ก็ยังได้กล่าวถึง หลักการและแนวทางในการ แก้ปัญหาการชุมนุมประท้วง โดยผู้เขียนขอสรุปมาให้ฟังดังนี้
รับฟังอย่างมีเมตตาธรรม เพื่อประเมินสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชน โดยใช้หลักเมตตาธรรม
การแจ้งเตือน เพื่อแจ้งให้ทราบถึงขอบเขตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การแจ้งเตือนต้องมีตั้งแต่แรก และทุก ระดับของการชุมนุม และต้องมีการประกาศขั้นตอนในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนให้ทราบก่อนทุกครั้ง
การใช้หลักกฎหมาย กรณีหากผู้ชุมนุมเรียกร้องใช้วิธีการรุนแรง โดยกระทำผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิ ผู้อื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมาย
การใช้กำลังสลายการชุมนุม กรณีการชุมนุมมีความรุนแรงมากขึ้นจน หากมีความจำเป็นต้องใช้กำลังสลายการ ชุมนุม หลังจากนั้นแล้วก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ส่งตัวผู้บาดเจ็บ หรือดำเนินการต่าง ๆ ให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคคล สถานที่ ที่เกิดเหตุ และควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ
ถึงอย่างไรก็ตามในการอธิบายหลักการการทำงาน โดยอ้างอิงกฎหมาย ต่าง ๆ ก็ยังไม่มีการระบุถึงรายละเอียด กระบวนการการทำงาน รวมไปถึงลักษณะอาวุธที่ใช้ในการควบคุมการชุมนุมเลยแม้แต่นิดเดียว
อ้างอิง
(NCEH), N. C. (2018, April 4). Riot Control Agent Poisoning. Retrieved from Centers for Disease Control and Prevention: https://emergency.cdc.gov/agent/riotcontrol/factsheet.asp
CDC, C. f. (2011, May 12). Centers for Disease Control and Prevention. Retrieved 8 6, 2020, from CHLOROACETOPHENONE (CN) : Riot Control/Tear Agent: https://www.cdc.gov/niosh/ershdb/emergencyresponsecard_29750033.html?fbclid=Iw AR3lIAHhEzgcY1OqFO7wdaEmvHsbBcocW-5VItD-kx7bBmsKZSbuarkYipU
ตำรวจภูธรภาค2), S. A. (n.d.). Retrieved August 6, 2020, from inv.p2.police.go.th: http://www.inv.p2.police.go.th/swat/riotcontrol.html
Illustration by Arnon Chundhitisakul
Comments