By TSIS Team
วันนี้เรามีเทคนิคในการทำวิจัยมาฝากกันอีกแล้ว สำหรับการทำ "Literature Review หรือ การทบทวนวรรณกรรม" นั้นต้องทำอย่างไร ? มีขั้นตอนอย่างไร ? เขียนแบบไหนถึงจะครอบคลุม และตรงประเด็นที่เราต้องการศึกษา ท่านใดที่กำลังคิดไม่ออก ไม่รู้จะเริ่มเขียนยังไง ไปดูกันเลย
1. รู้จักภาพรวม
รู้จักภาพรวมของงานวิจัยที่จะทำว่าประเด็นที่มีการศึกษานี้คืออะไร ประเด็นไหนมีการศึกษามากหรือน้อย เราต้องมีความชัดเจนในการเลือกประเด็นและหัวข้อ เพื่อที่จะได้เขียน literature review ให้ออกมาตรงตามที่เราต้องการ และสามารถเล่าและสรุปภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมดได้
2. เปรียบเทียบประเด็น
เปรียบเทียบประเด็นที่มีข้อสรุปแน่นหนา กับประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป
3. รู้ว่างานของเราอยู่ในประเด็นไหน
เพื่อที่จะได้หาข้อมูล ข้อสรุป หรือหลักฐานเพิ่มเติม มาสนับสนุนประเด็นที่ศึกษาได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นนั้นโดยตรง แต่สามารถนำประเด็นอื่น ๆ ที่มีความใกล้เคียงหรือมีหลักฐานที่จะนำมาสนับสนุนประเด็นที่เราสนใจได้
4. เรื่องที่เราศึกษามีผู้เคยทำมาหรือไม่
ปัญหาเรื่องที่เรากำลังทำวิจัยนี้เคยมีผู้ทำหรือไม่ ถ้ามีเขาตอบคำถามว่าอย่างไร ตอบไว้ได้ดีแล้วหรือไม่ เรื่องไหนที่ยังตอบไม่ชัดเจน มีคนอื่นตอบคำตอบที่ขัดแย้งหรือไม่ ถ้ายังไม่มี ก็สามารถบอกได้ว่างานของเราเป็นงานใหม่จริงๆ
5. ไม่คัดลอกงานของคนอื่น
เนื่องจากการคัดลอกงานของคนอื่นโดยไม่มีการอ้างอิงที่ถูกต้อง ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการโกง และถือเป็นการกระทำความผิดทางวิชาการอย่างร้ายแรง
6. เลือกแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้และมีข้อมูลที่อัพเดท
เพื่อยืนยันว่าข้อมูลที่เรานำมาอ้างอิงนั้น มีการค้นคว้าวิจัยเป็นผลงาน และสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลนั้นเชื่อถือได้
7. คัดเลือกข้อมูลสำคัญ
การคัดเลือกข้อมูลนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทบทวนวรรณกรรม เพราะถ้าหากเราไม่สามารถคัดเลือกเฉพาะข้อมูลที่สำคัญได้ ข้อมูลที่เราได้มาจะไม่สามารถนำมาสนับสนุนประเด็นต่าง ๆ ได้ตรงจุดมากนัก
8. สรุปข้อค้นพบที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม
เช่น ปัจจัยที่พบว่ามีอิทธิพลในการศึกษา ข้อสรุปที่ช่วยยืนยันสมมติฐานของเรา
9. แสดงถึงช่องว่างทางวิชาการที่จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับการทำวิจัย
เมื่อทราบถึงประเด็นปัญหาที่เราต้องการจะทำการศึกษาแล้ว ลองมองถึงช่องว่างในประเด็นที่ยังไม่มีผู้อื่นทำการศึกษา เพื่อที่เราจะช่วยเติมเต็มคำตอบตรงช่องว่างนั้นได้ และคาดการณ์ได้ถึงอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร (สำหรับท่านใดที่ต้องการยื่นทุนหรือเสนอหัวข้องานวิจัย ตรงส่วนนี้อาจจะช่วยให้ผู้สนับสนุนทุนตัดสินใจมอบทุนให้เราได้เช่นกัน)
10. อภิปรายผลการศึกษาในตอนท้ายได้ว่าเทียบเคียงกับผลงานของใครได้บ้าง
เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผลงานวิจัยของเราได้สร้างความรู้ใหม่
11. ทำการทบทวนจากวรรณกรรมที่หลากหลาย
โดยพิจารณาจากวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ตรงกับงานวิจัยที่เรากำลังทำหรือศึกษาอยู่ให้มากที่สุด
Illustration by Arnon Chundhitisakul
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner