top of page
Writer's pictureTSIS

ทำวิจัย ทำไมต้องออกแบบ

By TSIS Team

การออกแบบการวิจัย เป็นการวางโครงสร้างเฉพาะของการวิจัย ซึ่งจะครอบคลุมถึงการออกแบบ การสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการใช้สถิติที่เหมาะสม การออกแบบการวิจัยจึงเป็นขั้นตอนในการเตรียมแผนงานก่อนจะดำเนินการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยทำการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการวิจัยเพื่อตอบปัญหาที่ผู้วิจัยเลือก



ประเภทของการออกแบบวิจัย

การออกแบบการวิจัยมีหลายประเภท มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของผู้วิจัยว่าจะเลือกใช้เกณฑ์ใดในการออกแบบ


1. แบ่งตามเกณฑ์จุดมุ่งหมาย (End-Sought of Research)

เพื่อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ทดสอบทฤษฎี และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ โดยจุดมุ่งหมายดังกล่าว ประกอบด้วย

  1. มุ่งสำรวจ (Survey / Explore)

  2. เพื่อบรรยาย พรรณนา (Describe)

  3. เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ หรืออธิบายในเชิงสาเหตุ (Explanation / Prediction)

  4. เพื่อควบคุมในการวิจัยแบบทดลอง (Control)


2. แบ่งตามเกณฑ์การเปรียบเทียบผลการศึกษา

  1. หากศึกษาเพียงกลุ่มเดียว โดยไม่มีการเปรียบเทียบผลการศึกษา ระหว่างกลุ่มของประชากรกับกลุ่มตัวอย่าง เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงพรรณา (Describe Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่มักจะมีประชากรที่ศึกษามากกว่าหนึ่งกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการวิจัยระหว่างกลุ่มของประชากร เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic Study Design)


3. แบ่งตามเกณฑ์ให้ปัจจัย (Treatment)

  1. รูปแบบการวิจัยที่ผู้วิจัยมิให้ปัจจัยใด ๆ เพียงแต่เฝ้าติดตามและสังเกตผลที่เกิดขึ้นกับประชากรที่ศึกษา เรียกว่า การวิจัยเชิงสังเกต (Observational Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่ผู็วิจัยให้ปัจจัย และมีการวัดผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยนั้น เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimantal Study Design)


4. แบ่งตามเกณฑ์มิติของเวลา

  1. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอดีต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลที่เก็บตั้งแต่ปัจจุบันต่อไปในอนาคต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษาไปข้างหน้า (Prospective Study Design)

  3. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูล ณ จุดหนึ่งของเวลา หรือระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า รูปแบบการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross Sectional Study Design)

  4. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลระยะยาวของเวลา เรียกว่า รูปแบบการวิจัยในระยะยาว (Longtitudinal Study Design)


5. การออกแบบการวัดค่าตัวแปร (Measurement Design)

เป็นการกำหนดวิธีการวัดค่าหรือการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปรโดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร

  2. กำหนดโครงสร้าง และคำนิยามของค่าตัวแปรแต่ละตัวที่ต้องการวัดให้ชัดเจน

  3. กำหนดระดับการวัดของข้อมูล และสร้างการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร

  4. ตรวจสอบคุณภาพ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)

  5. กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน

  6. กำหนดรูปแบบ วิธีวัดค่าตัวแปร หรือการควบคุมตัวแปรเกินโดยวิธ๊การสุ่ม , การนำมาเป็นตัวแปรที่ศึกษา , การจัดสถานการณ์ให้คงที่ หรือการควบคุมด้วยวิธีการทางสถิติ


6. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Assignment)

เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในการนำมาศึกษา

  1. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง

  2. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม


7. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นการวางแผนในการดำเนินการกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)

  2. การเลือกใช้สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics)



จุดหมายของการออกแบบวิจัย

ในการออกแบบการวิจัย มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ

  1. เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ โดยการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรการวิจัยที่ศึกษา โดยใช้แนวทาง 3 ประการดังนี้ 1) ศึกษาให้มีความครอบคลุมขอบเขตของปัญหาการวิจัยให้มากที่สุด 2) ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรที่ไม่อยู่ในขอบเขตการวิจัยแต่มีผลต่อการวิจัยให้ได้มากที่สุด 3) การลดความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นในการวิจัยให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด



ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ

  1. เป็นแนวทางการหาคำตอบของปัญหาการวิจัยได้อย่างแท้จริง

  2. สามารถควบคุมตัวแปร ทั้งตัวแปรที่ต้องการศึกษา และตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา โดยใชวิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) , การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Random Assignment) , และการสุ่มการจัดกระทำให้แก่กลุ่มตัวอย่าง (Random Treatment)

  3. ควบคุมให้เกิดความเที่ยงตรงภายในที่ผลการวิจัยได้มาจากตัวแปรสาเหตุเท่านั้น และความเที่ยงตรงภายนอกที่จะสามารถใช้ผลการวิจัยสรุปไปอ้างอิงไปสู๋ประชากรได้

  4. ปราศจากอคติ

  5. ปราศจากความสับสน






Illustration By Arnon Chundhitisakul





12,417 views3 comments

3 Comments


chat
Oct 16

Ücretsiz Rastgele Görüntülü Sohbet Kameralı Sohbet Gabile Sohbet Canlı Sohbet Cinsel Sohbet Uygulaması.


Ücretsiz Rastgele Görüntülü Chat Kameralı Chat Gabile Chat Canlı Chat Cinsel Chat Uygulaması.

Like

chat
Oct 16

https://www.gevezeyeri.com/ Sohbet ve chat yapmanızı kolay ve güvenli hale getiren  sorunsuz kesintisiz yeni kişilerle tanışma imkanı sağlar.

Like

chat
Oct 16

https://www.gevezeyeri.com/mobil-sohbet.html Android uyumlu dokunmatik ekran akıllı cep telefonları, tablet, ipad, iphone gibi Mobil cihazlarla tek bir tıkla Mobil Sohbet’e katılabilırsıniz.

Like
bottom of page