top of page
Writer's pictureTSIS

มอง ‘work from home’ ผ่านงานวิจัย

by The TSIS

สถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวันทั้งในไทยและต่างประเทศทำให้หลายบริษัทปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงการออกไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมากและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส


การทำงานจากที่บ้านหรือ work from home คือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด บริษัททั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเริ่มนำวิธีการทำงานจากที่บ้านมาใช้เป็นรูปแบบการทำงานในองค์กร The TSIS เองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่วิธีนี้ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนส่วนมาก ในสถานการณ์แบบนี้การทำงานจากที่บ้านถือว่าดีกว่าการต้องออกเดินทางไปทำงานที่สำนักงาน


งานวิจัยเกี่ยวกับ work from home ในประเทศไทยมีงานที่น่าสนใจหลายชิ้นงาน ในวันนี้ที่เราจะมาพูดถึงงานวิจัยจำนวน 3 ชิ้น


การทำงานทางไกลและที่บ้าน

มนัสนันท์ ศรีนาคาร และพิชิต พิทักษ์ เทพสมบัติ


ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลกระทบมหาศาลไม่ใช่แค่ต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ส่งผล กระทบต่อคนทุกภาคส่วน ทั้งบุคคลที่มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องงานและครอบครัว การเดินทางไปที่ทำงานประสบปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถติด หรือมลภาวะที่เป็นพิษ


ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการทำงานรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “การทำงานทางไกลและที่บ้าน” (Telework and work at home) ซึ่งวัตถุประสงค์ในการศึกษาของผู้วิจัยคือ การศึกษาระดับของการใช้ทำงานทางไกลและที่บ้าน ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานไกลและที่บ้านเปรียบเทียบกับการทำงานแบบดั้งเดิม และศึกษาข้อดีของการทำงานทางไกลและที่บ้าน


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้าราชการจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานข้าราชการพลเรือน และสำนักงานเศรษฐกิจการพลัง นักธุรกิจส่วนตัว สัตวแพทย์ และกลุ่มอาชีพอิสระ จำนวน 297 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทำงานที่สำนักงาน (ร้อยละ 79.8) ใช้เวลาทำงานที่สำนักงานและที่บ้านครึ่งต่อครึ่ง (ร้อยละ 11.1) และเวลาส่วนใหญ่ทำงานที่บ้านหรือทางไกล (ร้อยละ 9.1) นอกจากนี้ยังพบว่า ตัวแปรเพศ ลักษณะงาน รายได้และเงินเดือน การใช้ระบบการประชุมทางไกลและการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ล้วนมีความสัมพันธ์กับการทำงานทางไกลและที่บ้าน


เมื่อเปรียบเทียบความเห็นของผู้ที่ทำงานทางไกลและที่บ้านกับกลุ่มผู้ที่ทำงานแบบดั้งเดิมหรือทำภายในสำนักงาน พบว่า การทำงานจากที่บ้านให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการทำงานแลลเดิมในประเด็นดังนี้ (1) มีอิสระในการทำงานมากขึ้น (2) สุขภาพจิตดีขึ้น (3) มีความสุขมากกว่าเดิม (4) ความขัดแย้งลดลง (5) พนักงานมีความมั่นใจในการตัดสินใจและการกระทำของตนเองมากกว่าเดิม (6) งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น (7) สามารถสื่อสารและมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาดีขึ้น และ (8) มีเงินเดือนเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม


การทำงานจากบ้านหรือ Work from Home ยังถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย หากจะนำไปปรับใช้จริงต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล มีการคัดเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม เข้าใจระบบการทำงานที่ถูกต้อง อีกทั้งเทคโนโลยีที่เข้ามาใช้ต้องสามารถรองรับการทำงานได้อย่างเหมาะสม


อ่านงานวิจัยฉบับเต็มที่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/29085


ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานระยะไกล กรณีศึกษา ธนาคารแห่งประเทศไทย

วลัญช์ ก้าวสัมพันธ์


การกำเนิดนวัตกรรมอย่างรถยนต์ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเดินทางหากันจนเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เวลาผ่านไปผู้ที่ครอบครองรถยนต์กำลังประสบกับปัญหาการจราจรติดขัด ราคาน้ำมันสูง และมลภาวะเป็นพิษ ซึ่งทำให้คนในเมืองต้องเผชิญกับปัญหาในการดำเนินชีวิตที่ต้องเร่งรีบอยู่ตลอดจนทำให้เสียสมดุลการใช้ชีวิตทั้งเรื่องงานและครอบครัว


งานวิจัยชิ้นนี้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานระยะไกลของหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่ง และนำเสนอแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรในหน่วยงานจำนวนทั้งสิ้น 345 คน ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและการยอมรับการทำงานไกลสอดคล้องกับแบบจำลองตามทฤษฎีตามแผน (Theory of planned behavior) มีจำนวนทั้งสิ้น 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) ทัศนคติที่มีต่อการใช้ (2) บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และ (3) การรับรู้ถึงการควบคุมด้านพฤติกรรม ซึ่งทั้งสามปัจจัยมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อเป้าหมายในการทำงานระยะไกลที่ระดับอำนาจ ร้อยละ 51.3


ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อการทำงานระยะไกลคือ ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด เมื่อนำผลการวิจัยเชิงสถิติมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกทำให้มีข้อเสนอว่า หน่วยงานควรให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักของพนักงานให้เห็นถึงประโยชน์ ความเข้ากันในการใช้งาน คุณสมบัติของพนักงาน และการส่งเสริมให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานระยะไกลเกิดประโยชน์สูงสุด


อ่านงานวิจัยฉบับเต็มที่ http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802036227_5788_4219.pdf


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์


เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งองค์การที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอย่างเหมาะสมจะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและได้เปรียบในเชิงธุรกิจ อย่างไรก็ตามทรัพยากรที่สร้างข้อได้เปรียบในเชิงธุรกิจมากที่สุดและยากที่จะเลียนแบบได้คือ ทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นองค์การจึงต้องให้ความสำคัญกับพนักงานมากที่สุด


วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกลของพนักงานและนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงให้พนักงานเกิดการยอมรับและนำระบบการทำงานทางไกลไปใช้ในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือ กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครสำนักงานใหญ่จำนวน 171 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและวิเคราะห์ผลทางสถิติ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกลตามกรอบแนวคิดในงานวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่ (1) การรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งาน (2) การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้ (3) ความเข้ากันในการใช้งาน (4) บรรทัดฐานที่ทำงาน (5) บรรทัดฐานที่บ้าน (6) ทรัพยากรที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีต่อการใช้ และ (7) เทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยต่อการใช้ และ (8) นโยบายองค์การ


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกลของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในองค์การแห่งนี้คือ ปัจจัยความเข้ากันในการใช้ และปัจจัยนโยบายองค์การ


อ่านงานวิจัยฉบับเต็มที่ https://koha.library.tu.ac.th/bib/592878


Illustration by Piyanat Chasi

 

7,290 views1 comment

1 commentaire


CBKM BOCU
CBKM BOCU
03 nov.

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

J'aime
bottom of page